การดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
หลักฐานอันแรกที่จะอ้างก็เห็นจะต้องอาศัยหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่หนึ่ง ในข้อความกล่าวไว้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นชาวบ้านมีความสนุกสนานเล่นดนตรีและขับร้องกันอย่างรื่นเริงบันเทิงใจกันทั่วไป
ข้อความที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีเพียงคำที่รวบรัด ถ้าจะค้นให้ละเอียดออกไปก็จะเห็นจะต้องดูจากหลัดฐานในรัชกาลต่อๆมา มีสิ่งที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับดนตรีที่น่าจะนำมาพูดได้ก็คือ หนังสือเรื่องไตรภูมิพระร่วง เมื่อพิจารณาจากข้อความในหนังสือไตรภูมิที่เกี่ยวด้วยดนตรีขับร้องฟ้อนรำ ซึ่งมิได้แปลออกจากอรรถกถาก็มีที่จาระไนรายชื่อเครื่องดนตรีอยู่ในตอนที่ว่าด้ยความสุขในอุตรกุรุทวีป
นอกจากหลักฐานทั่งสองแห่งที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงเรื่องดนตรีขับร้องฟ้อนรำในสมัยใกล้เคียงกันอีกแห่งหนึ่งก็คือ หลักศิลาจารึกที่เรียกว่า ศิลาจารึกภูเขาสุมนกูฏ ซึ่งหนังสือ ประชุมจารึกสยามภาคหนึ่
ในสมัยสุโขทัยนั้นบรรดาท่านนัปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ก็ดูเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันว่าศิลปกรรมและวัฒนธรรมของสุโขทัยกับลานนาไทยต่างก็เทไปถ่ายมาสู่กันและอยู่เสมอๆ เพราะฉะนั้นก็จำเป็นที่จะนำหลักฐานทางล้านนาไทยที่ร่วมสมัยกันมาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งได้แก่ หลักศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัด ลำพูน ซึ่งจารึกในพุทธศักราช ๑๙๑๓
ชื่อเครื่องดนตรีต่างๆซึ่งมีอยู่ในหลักฐานที่นำมาเล่ากล่าวนี้เป็นสิ่งที่ท่านผู้บันทึก ได้รวบรวมขึ้นไว้ตามแต่จะแลเห็นหรือคิดว่าควรจะมีเท่านั้น จะพิจารณาว่าเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงตามแบบแผนจริงๆ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
วงแตรสังข์ ที่ประกอบพระราชพิธีอย่างสมัยนี้มีอยู่ครบบริบูรณ์ สังข์ และ แตร คือแตรยาวที่สมัยนี้เรียกว่า แตรฝรั่ง นี้มีอยู่ในไตรภูมิพระร่วง แถมยังมีบัณเฑาะว์และมโหรทึกอีกด้วยจึงเป็นอันว่าเครื่องประโคมประกอบพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่พร้อมมูลในสมัยสุโขทัย
วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ถือว่าเป็นหลักสำคัญในวงดนตรีไทย วงปี่พาทย์ก็คือวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่า ตรงกับคำว่า เสียงพาทย์ ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง
ไทยเราจึงผสมวงดนตรีเครื่อง ๕ เลือกหาเครื่องดนตรีที่มีอยู่แล้วมาผสมเป็นวงดนตรีไทย มีดนตรีไทย คือ
๑ ปี่ ได้แก่ ปี่ใน ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โบราณอาจเรียกว่า ปี่สรไน หรือ นันทไฉน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ปี่ในนี้นับว่าเป็นของไทยแท้ มีลักษณะแตกต่างของชาติอื่นๆทั้งสิ้น
๒ ฆ้อง ซึ่งคงจะต้องเป็นฆ้องหลายลูกที่ดำเนินเป็นทำนองได้ คงจะต้องเป็นฆ้องวง ซึ่งโบราณทางเหนือเรียกว่า เจแวง ดังที่ปรากฏอยู่ใน พงศาวดารลานช้าง
๓ ตะโพน ตรงกับคำว่า มุทิงค์ หรือ มฤทิงค์ ในไตรภูมิพระร่วง
๔ กลองทัด คือกลองขนาดใหญ่ ในไตรภูมิพระร่วง
๕ ฉิ่ง ฉิ่งนั้นเรียกตามชื่อเดิมไตรภูมิพระร่วงซึ่งกล่าวติดกันเป็น ฉิ่งแฉ่ง
ฉิ่งแยกออกก็คือ ฉิ่ง ส่วน แฉ่ง ก็คือ ฉาบ
พิณ หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายและดีดเป็นเสียง พิณในสมัยสุโขทัยในรูปปั้น มีรูปเหมือนกระจับปี่ในปัจจุบัน นอกจากพิณที่กล่าวมานี้ยังก็มี พิณ-น้ำเต้า พิณเพียะหรือพิณเปี๊ยะ พิณเพียะหรือพิณเปี๊ยะนี้นิยมดีดกันอยู่ในภาคเหนือ
ในสมัยสุโขทัยก็มี ซอสามสาย ซึ่งก็เป็นซอของไทยอยู่แล้ว นอกจากนั้นมีซออย่างซอด้วง ซออู้ ด้วยก็ได้ เพราะว่าซอแบบนี้ย่อมจะเกิดมีขึ้นในเมืองไทยแล้วตั้งแต่ก่อนสุโขทัย